WARM UP กับ COOL DOWN | หลายคนมองข้าม และ ยังเข้าใจผิด

เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะรู้จักการอบอุ่นร่างกาย หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘วอร์มอัพ’ ซึ่งเราจะสังเกตเห็นนักกีฬาแทบจะทุกประเภททำก่อนการแข่งขันกันจนชินตา และบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าหลังการออกกำลังกายก็ต้องทำการ Cool Down หรือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายด้วย มีเพื่อน ๆ ไม่น้อยเลยครับที่มองข้ามความสำคัญของการ Warm Up & Cool Down ซึ่งมีผลโดยตรงอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงเลยทีเดียว

ภาพ : https://www.pinterest.com/pin/849139704722803463/

การยืดเหยียดร่างกายจะมีด้วยกันอยู่ 2 รูปแบบ นั่นก็คือ Static Stretching และ Dynamic Stretching ซึ่งเป็นหลักการยืดกล้ามเนื้อที่แตกต่างกันครับ โดยทั้งสองจะถูกนำไปใช้ในช่วง Warm-up และ Cool-down โดยอย่างที่บอกว่าทั้งสองจะมีจุดประสงค์ที่ต่างกันออกไป เดี๋ยวเรามาดูกันว่าทั้งสองต่างกันอย่างไรบ้าง

 

  • Static Stretching 

คือการยืดในแบบที่เราคุ้นชินกันในปัจจุบันนั่นเองครับ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการยืดแขนยืดขาแล้วค้างไว้สัก 20-30 วินาที ที่เราชอบทำกันในช่วง Warm-up นั่นแหละครับ แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมครับว่าการที่เราใช้วิธียืดแบบ Static Stretching ในช่วง Warm-up นั้นคือการใช้ที่ผิดนะครับ ทำไมถึงผิด? เพราะว่าคุณสมบัติของการยืดแบบ Static Stretching จริง ๆ แล้วหน้าที่ของมันคือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้คลายตัวออกนั่นเองครับ เหมาะที่จะหยิบมาใช้ในช่วง Cool-down มากกว่าครับ ช่วง Warm-up ไม่ควรใช้ Static Stretching นะครับเพราะว่าจากผลการศึกษานั้นชี้ว่าการใช้ Static Stretching ในช่วงวอร์มนั้นจะทำให้ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการวิ่งของเรานั่นเองครับ

Cool-down = การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดการตึงหลังจากใช้งานมาอย่างหนัก และทำให้กล้ามเนื้อกลับมามีความยืดหยุ่นอีกครั้ง ทำเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

 

  • Dynamic Stretching

คือการยืดที่เราจะไม่อยู่กับที่มีการเคลื่อนที่ไปมา เช่น การดีดขาขึ้นมาแตะก้นของเราสลับไปมา หรือ การยกขาช่วงล่างเข่าขึ้นมากอด หรือจะเป็นการวิ่งเขย่งก้าวสลับขา เป็นต้นครับ โดยการ Stretching แบบ Dynamic Stretching จะช่วยในการวอร์มเตรียมความพร้อมให้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ที่เราทำการยืด ซึ่งแน่นอนว่าการยืดแบบ Dynamic Stretching เหมาะกับการ Warm-up ก่อนวิ่งนั่นเองครับ ซึ่งคนเรามักจะใช้ผิดไปใช้แบบ Static Stretching นั่นเอง

Warm-up = ช่วงที่เราต้องวอร์มกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การออกกำลังกาย หรือ การวิ่ง

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเพื่อน ๆ คนไหนที่ทำผิดสลับกันอยู่ก็ลองปรับเปลี่ยนดูนะครับ นอกจากจะช่วยพัฒนาการวิ่งของเราอย่างถูกวิธีแล้วยังป้องกันอาการบาดเจ็บได้อีกด้วยนะ

Check Also

วิ่งเสร็จกินอะไรดี?

     ไม่ว่าจะเป็นนักวิ่งมือใหม่หรือนักวิ่งมืออาชีพมื้ออาหารหลังจากวิ่งเสร็จก็ถือว่าสำคัญมาก ๆ และหากเราทานอาหารที่ดีและเหมาะสมกับร่างกายก็จะสามารถช่วยลดภาระของร่างกายได้อย่างดีเลยล่ะครับ .  สำหรับอาหารที่เหมาะกับการทานหลังวิ่งนั้นหลัก ๆ เลยก็จะเป็น คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยทั้งสองอย่างนี้จะให้พลังงานที่สามารถทดแทนพลังงานที่เสียไปได้ รวมถึงยังสามารถช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมความเสียหายของกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานขณะวิ่งได้ด้วยครับ . ควรกินเมื่อไหร่? ตามปกติแล้วช่วงเวลา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *